การประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
5.1 ข้อดี
ข้อดีของการประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูล มีดังนี้
5.1.1 สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแฟ้มข้อมูล อาจทำให้ข้อมูลเรื่องเดียวกันถูกจัดเก็บไว้
ในหลายๆ แห่งในองค์กร ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ การจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลจึงช่วยลด
ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล โดยระบบจัดการฐานข้อมูลจะช่วยลดความซ้ำซ้อนทั้งในด้านการ
จัดเก็บและการประมวลผล รวมถึงความเชื่อถือได้ของข้อมูล
5.1.2 สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแฟ้มข้อมูล ข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจถูกจัดเก็บอยู่ใน
หลายแฟ้มข้อมูลหลายแห่งในองค์กร ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูล เพราะข้อมูลแต่ละ
แฟ้มข้อมูลแต่ละแห่งในองค์กร ไม่สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยถูกต้องเหมือนกันทุกแฟ้มข้อมูล จึงอาจ
ทำให้ข้อมูลในแต่ละแฟ้มแต่ละแห่งในองค์กรขัดแย้งกันได้5.1.3 สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นการเก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ซึ่งผู้ใช้
หลายๆ คน สามารถเรียกใช้หรือดึงข้อมูลชุดเดียวกันได้ ณ เวลาเดียวกัน หรือต่างเวลากันก็ได้
5.1.4 สามารถรักษาความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูล
ในการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล อาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น การป้อนข้อมูล
ผิดพลาดจากข้อมูลหนึ่งเป็นอีกข้อมูลหนึ่ง ซึ่งในระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถระบุกฎเกณฑ์เพื่อ
ควบคุมความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้
5.1.5 สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
การเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลต้องกำหนดและควบคุมความมีมาตรฐานของข้อมูลให้
เป็นไปในลักษณะเดียวกัน เช่น โครงสร้างข้อมูล ประเภทของข้อมูลที่จัดเก็บ เป็นต้น
5.1.6 สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
ผู้บริหารฐานข้อมูลสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนให้
แตกต่างกันตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้
5.1.7 มีความเป็นอิสระของข้อมูลและโปรแกรม
ฐานข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน จะทำงานโดยมีระบบการจัดการ
ฐานข้อมูลเป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลในแฟ้มข้อมูล ก็จะ
ทำการแก้ไขเฉพาะโปรแกรมที่เรียกใช้โครงสร้างข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้
เรียกใช้โครงสร้างข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงนี้
5.1.8 สามารถขยายงานได้ง่าย
เมื่อต้องการเพิ่มเติมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะสามารถเพิ่มได้อย่างง่ายไม่ซับซ้อน
เนื่องจากมีความเป็นอิสระของข้อมูล จึงไม่มีผลกระทบต่อข้อมูลเดิมที่มีอยู่
5.1.9 ทำให้ข้อมูลบูรณะกลับสู่สภาพปกติได้เร็วและมีมาตรฐาน
เนื่องจากการจัดพิมพ์ข้อมูลในระบบที่ไม่ได้ใช้ฐานข้อมูล ผู้เขียนโปรแกรมแต่ละ
คนมีแฟ้มข้อมูลของตนเองเฉพาะ ฉะนั้นแต่ละคนต่างก็สร้างระบบการบูรณะข้อมูลให้กลับสู่สภาพ
ปกติในกรณีที่ข้อมูลเสียหายด้วยตนเอง และด้วยวิธีการของตนเอง จึงขาดประสิทธิภาพและมาตรฐาน
แต่เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบระบบฐานข้อมูลแล้ว การบูรณะข้อมูลให้กลับคืนสู่สภาพปกติจะมี
โปรแกรมชุดเดียวและมีผู้ดูแลเพียงคนเดียวที่จะดูแลทั้งระบบ ซึ่งย่อมต้องมีประสิทธิภาพและเป็น
มาตรฐานเดียวกันแน่นอน
5.2 ข้อเสีย
ข้อเสียของการประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูล มีดังนี้
5.2.1 มีต้นทุนสูง
การใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น ไม่ว่า
จะเป็จะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ หรือบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีระบบจัดการฐานข้อมูล5.2.2 มีความซับซ้อน
ระบบจัดการฐานข้อมูลมีซอฟท์แวร์ที่ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ มากมายจึง
ต้องอาศัยผู้ใช้ และผู้ดูแลที่มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีระบบจัดการฐานข้อมูล
5.2.3 การเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ
ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบจัดการฐานข้อมูลมีลักษณะเป็นศูนย์รวม ดังนั้นหาก
ฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์เกิดปัญหาอาจทำให้ระบบหยุดชะงักได้
5.2.4 การสูญเสียข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้
เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นถ้าดิสก์ที่
เก็บฐานข้อมูลนั้นเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้
ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บชุดของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บไว้ด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้
ข้อ3204-2005 ระบบฐานข้อมูล
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล
12
5.2.2 มีความซับซ้อน
ระบบจัดการฐานข้อมูลมีซอฟท์แวร์ที่ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ มากมายจึง
ต้องอาศัยผู้ใช้ และผู้ดูแลที่มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีระบบจัดการฐานข้อมูล
5.2.3 การเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ
ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบจัดการฐานข้อมูลมีลักษณะเป็นศูนย์รวม ดังนั้นหาก
ฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์เกิดปัญหาอาจทำให้ระบบหยุดชะงักได้
5.2.4 การสูญเสียข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้
เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นถ้าดิสก์ที่
เก็บฐานข้อมูลนั้นเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้
ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บชุดของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บไว้ด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้
ข้อมูลเหล่านั้นร่วมกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การจัดเก็บข้อมูลแบบฐานข้อมูลจะเป็นการ
ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ลดความขัดแย้งของข้อมูลและการสูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ข้อมูล และบุคลากร การประมวลผล
ข้อมูลในฐานข้อมูลมีข้อดี คือ ลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูล ข้อมูล
จึงมีความถูกต้องเชื่อถือได้ ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ส่วนข้อเสีย คือ มีต้นทุนสูง มีความ
ซับซ้อน การเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ และการสูญเสียข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้
3204-2005 ระบบฐานข้อมูล
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล
12
5.2.2 มีความซับซ้อน
ระบบจัดการฐานข้อมูลมีซอฟท์แวร์ที่ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ มากมายจึง
ต้องอาศัยผู้ใช้ และผู้ดูแลที่มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีระบบจัดการฐานข้อมูล
5.2.3 การเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ
ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบจัดการฐานข้อมูลมีลักษณะเป็นศูนย์รวม ดังนั้นหาก
ฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์เกิดปัญหาอาจทำให้ระบบหยุดชะงักได้
5.2.4 การสูญเสียข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้
เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นถ้าดิสก์ที่
เก็บฐานข้อมูลนั้นเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้
ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บชุดของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บไว้ด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้
ข้อมูลเหล่านั้นร่วมกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การจัดเก็บข้อมูลแบบฐานข้อมูลจะเป็นการ
ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ลดความขัดแย้งของข้อมูลและการสูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ข้อมูล และบุคลากร การประมวลผล
ข้อมูลในฐานข้อมูลมีข้อดี คือ ลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูล ข้อมูล
จึงมีความถูกต้องเชื่อถือได้ ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ส่วนข้อเสีย คือ มีต้นทุนสูง มีความ
ซับซ้อน การเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ และการสูญเสียข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้